อ้อมกอดอันอบอุ่น (งูหลามไม้สีเขียว)

อ้อมกอดอันอบอุ่น
ม่งูหลามไม้สีเขียว

วามห่วยใยฟูมฟักลูกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีในหมู่งู เพราะงูส่วนใหญ่วางไข่ไว้ในที่ปลอดภัยแล้วทิ้งไว้ตามยถากรรม แต่มีงูหลามบางชนิดที่ไม่เพียงแต่คอยปกป้องไข่เท่านั้น แต่ยังกกไข่อีกด้วย

หลังจากงูหลามตัวเมียวางไข่กองใหญ่ประมาณ 10 ฟองแล้ว มันจะขดตัวรอบๆไข่ แล้วสั่นกล้ามเนื้อให้หดตัวเป็นจังหวะ อุณหภูมิของร่างกายจึงสูงกว่าอุณหภูมิโดยรอบถึง 7 ํซ แม่งูยังค่อยๆกลิ้งไข่ให้ผลัดกันตากและหลบแดด


เนื่องจากงูเป็นสัตว์เลือดเย็น (มันต้องตากแดดเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น) มันจึงไม่อาจใช้ความร้อนของร่างกายฟักไข่ได้ แม้มีงูอื่นหลายชนิดที่เฝ้าระวังไข่ แต่เท่าที่ทราบกันดี มีเพียงงูหลามเท่านั้นที่ฟักไข่ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะงูชนิดอื่นๆไม่มีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ทรงพลังไว้ช่วยสร้างความอบอุ่นให้ไข่


สำหรับสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็คือ ภูมิอากาศอันอบอุ่นและอุณหภูมิอันสม่ำเสมอที่ทำให้ไข่ฟักได้เอง แต่สัตว์พวกนี้อาศัยอยู่ในที่ต่างๆ ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนจนถึงทุ่งพุ่มไม้เตี้ยอันหนาวเย็น งูหลายชนิดในที่ต่างๆจึงมีวิธีแก้ปัญหาการฟักไข่ที่แตกต่างกัน เช่น งูกราสส์ ในยุโรปวางไข่ในกองใบไม้เน่า ความร้อนจากการสลายตัวทางเคมีของพืชจะให้อุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับกกไข่ 


ต่สภาพแวดล้อมเช่นนี้ก็มีอันตรายด้วย เนื่องจากมีเชื้อราและแบคทีเรียอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องป้องกันเชื้อเหล่านี้เพื่อให้ตัวอ่อนที่กำลังเติบโตอยู่รอดได้ ดังนั้นเปลือกไข่ของงูจึงต้องเหนียวและหนาเหมือนหนังเพื่อช่วยป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย

วิธีที่นกเมียหลวงปกป้องลูก

วิธีที่นกเมียหลวงปกป้องลูก

นกกระจอกเทศเป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดที่มีชีวิตอยู่ แต่มันบินไม่ได้ มันจึงต้องทำรังไว้บนพื้นดินโดยการคุ้ยดินให้เป็นหลุมตื้นๆ
ไข่นกกระจอกเทศหนักราวฟองละ 1.5 กก. นับเป็นอาหารที่แม้แต่สัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น หมาแจ็กคัล หมาไฮยีนา หรือ บางครั้งสิงโต ก็ยังสนใจกิน ภัยคุมคามชีวิตมากมายเช่นนี้ ทำให้ต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อปกป้อง นกกระจอกเทศจึงได้พัฒนาแบบแผนในการสืบพันธุ์และการฟักไข่ขึ้นเป็นพิเศษ

พ่อนกกระจอกเทศมีสัมพันธ์คู่อันแน่นแฟ้นกับแม่นกเพียงตัวเดียวที่เป็น "เมียหลวง" แม้ว่าพ่อนกจะผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่นๆอีกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ "เมียน้อย" เหล่านี้ได้รับอนุญาตให้วางไข่ในรังได้เท่านั้น ห้ามไปวางไข่หรือสร้างรังเองที่อื่น โดยจะไม่มีส่วนในการกกไข่ของตัวเอง อันเป็นงานของพ่อนกกับแม่นกเมียหลวงที่จะต้องทำเท่านั้น

ถึงเวลากกไข่ พ่อนกนั่งกกไข่เวลากลางคืนที่มีอันตรายมากกว่า ส่วนแม่นกจะรับช่วงกกไข่ต่อในเวลากลางวัน

สัตว์ที่จะดูแลลูกของสัตว์ตัวอื่นนั้นหายาก ด้วยเหตุที่การช่วยลูกสัตว์อื่นจะทำให้มีอาหารและสิ่งจำเป็นอื่นๆสำหรับลูกของมันเองน้อยลง และนกกระจอกเทศเมียหลวงก็ไม่ได้ใจกว้างมากไปกว่าแม่นกตัวอื่นๆแต่ประการใด ดังนั้นเมื่อรังเต็มและมันไม่อาจกกไข่ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจะดันไข่บางฟองที่ไม่ใช่ของมันออกจากรังไป ไข่ที่ถูกดันออกจากรังจะเรียงรายอยู่รอบๆรัง

ไข่ที่ถูกทิ้งพวกนี้จะถูกละเลยอยู่กลางแดดและไม่มีวันฟักเป็นตัว แต่จะเป็นไข่พวกแรกที่สัตว์ผู้ล่าพบ และอาจมีจำนวนพอเพียงสำหรับระงับความหิวได้


อย่างไรก็ตาม ไข่เหล่านี้ก็จะดึงความสนใจไปจากไข่ของเมียหลวงที่ยังคงอยู่ภายใต้อกของพ่อหรือแม่ในรังอย่างปลอดภัย

อุณหภูมิของไข่กำหนดเพศ

รักษาไข่ไว้ให้อุ่น
สำหรับสัตว์เลื้อยคลานที่มีเลือดเย็น การรักษาอุณหภูมิในระยะฟักไข่ต้องใช้วิธีการพิเศษ เช่นเดียวกับนกบางชนิด

อุณหภูมิของไข่กำหนดเพศ
จระเข้ในอเมริกาเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ดังนั้นตัวเมียจึงไม่สามารถกกไข่ให้ฟักเป็นตัวได้ มันจึงต้องสร้างที่ฟักไข่ขึ้นทำหน้าที่แทน โดยมันจะใช้หางโกยใบไม้ใบหญ้ามากองไว้แล้วหมกไข่ไว้ในนั้น เมื่อกองใบไม้เริ่มสลายตัวเน่าเปื่อยเหมือนกองปุ๋ยหมักในสวน กองปุ๋ยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับฟักไข่ คือ 37 ํซ
วิธีนี้แก้ปัญหาในการฟักไข่ได้ แต่ผลก็ยังไม่น่าพอใจนัก เพราะแม้อุณหภูมิในกองใบไม้จะเปลี่ยนไปเพียงไม่กี่องศา แต่ก็อาจส่งผลอย่างมากต่อขนาดตัวและพลังชีวิตของลูกจระเข้ คือ ไข่ที่ได้รับอุณหภูมิต่ำเกินไปจะโตช้า เพราะตัวอ่อนต้องใช้อาหารส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในไข่นั้นเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ครั้นเมื่อฟักเป็นตัว จึงมีขนาดเล็กกว่าตัวที่ฟักออกจากไข่ ที่ได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม

ระเข้ได้มีวิวัฒนการ เพื่อปรับตัวให้สามารถรับสภาวะที่ไม่อาจคาดล่วงหน้าได้นี้ ขนาดร่างกายของจระเข้ตัวเมียนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะถึงแม้ว่าแม่จระเข้ที่ตัวเล็กจะผลิตไข่ได้น้อยฟองกว่าแม่จระเข้ตัวใหญ่ไปตามส่วน แต่อย่างน้อยก็ยังผลิตไข่ได้บ้าง แต่สำหรับตัวผู้นั้นขนาดร่างกายนับว่าสำคัญมาก ตัวผู้ขนาดใหญ่ย่อมชนะการต่อสู้อันโหดร้ายในต้นฤดูผสมพันธุ์และได้ตัวเมียไปมากที่สุด ขณะที่ตัวผู้ขนาดเล็กอาจไม่ได้ผสมพันธุ์เลย

เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของมันมีโอกาสสูงสุดที่จะได้สืบทอดสายพันธุ์ต่อไปด้วยดี แม่จระเข้จึงต้องการให้ลูกที่ตัวใหญ่เป็นตัวผู้ และลูกตัวที่เล็กกว่าเป็นตัวเมียและในความเป็นจริง เพศของลูกจระเข้ถูกกำหนดโดยอุณหภูมิยามฟักไข่ ไข่ที่เจริญเติบโตในสภาวะฟักไข่อันอบอุ่นดีเยี่ยมจะเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ แต่ไข่ที่ฟักในอุณหภูมิอันเย็นกว่าจะเป็นตัวเมียขนาดเล็กกว่า โดยลูกที่ออกมาจะมีตัวผู้หนึ่งตัว ต่อตัวเมียห้าตัว


เช่นเดียวกับจระเข้ เพศของเต่าบกก็กำหนดโดยอุณหภูมิของไข่ แต่ให้ผลตรงข้ามกับไข่ของจระเข้ คือไข่เต่าที่เจริญเติบโตในอุณหภูมิอันเหมาะสมจะฟักเป็นตัวเมียขนาดใหญ่ ส่วนไข่ที่ฟักในอุณหภูมิอันต่ำกว่าจะออกมาเป็นตัวผู้ขนาดเล็ก

สำหรับเต่าตัวผู้ การมีขนาดใหญ่เกือบไม่มีประโยชน์อะไร เพราะการต่อสู้กันในหมู่เต่านั้นนับว่ามีน้อยมาก และเต่าส่วนใหญ่ล้วนมีโอกาสได้ผสมพันธุ์ แต่ทว่าสำหรับเต่าตัวเมีย การมีขนาดใหญ่ย่อมมีประโยชน์แน่นอน แม่เต่าจะบรรทุกไข่ไว้ในร่างกายได้เป็นจำนวนมากเท่าใดนั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของกระดอง เต่าตัวเมียขนาดใหญ่จึงวางไข่ได้มากกว่าขนาดเล็ก และเช่นเดียวกัน การกำหนดเพศด้วยอุณหภูมิช่วยให้เต่าแน่ใจว่าลูกของมันมีโอกาสดีที่สุดที่จะสืบสายพันธุ์ต่อไป

สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ "ทำสวน" เพื่อกกไข่คือ นกแมลลีในออสเตรเลีย มันฟักไข่โดยหมกไว้ในกองใบไม้หรือกองปุ๋ยหมัก มันสร้างกองใบไม้สูงถึง 1 เมตร กว้างประมาณ 5 เมตร โดยรวบรวมใบไม้และดินถึงประมาณ 4 ตัน แม่นกวางไข่ถึง 30 ฟองไว้ในใจกลางกองปุ๋ยแล้วจากไป ส่วนพ่อนกกลบไข่แล้วคอยเฝ้าอยู่ พ่อนกจะคอยวัดอุณหภูมิของรังอยู่ตลอดเวลาโดยการแหย่ปากเข้าไปในรังอยู่บ่อยๆ อุณหภูมิอันเหมาะสมคือประมาณ 33 ํซ ไข่ใช้เวลาฟักเพียง 7 สัปดาห์ แต่กระบวนการทั้งหมดทำให้ตัวผู้ต้องมีงานวุ่นอยู่ถึง 11 เดือนต่อปี