ภาระในครอบครัวที่มีแต่พ่อมีปลาเพียง 2-3 ชนิดที่ดูแลลูกน้อยของมัน ปลาที่รับภาระดูแลลูกมักเป็นพ่อปลา ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปไข่จะถูกทิ้งไว้กับตัวพ่อ ตามปกติปลาจะออกไข่และตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ที่ปล่อยออกมา เมื่อตัวเมียวางไข่แล้ว ตัวผู้จึงปล่อยน้ำเชื้อไปผสม จากนั้นตัวเมียก็ว่ายจากไป ปลาหลังหนาม เป็นตัวอย่างปลาที่น่าสนใจ ตัวเมียจะวางไข่ในรังที่ตัวผู้เตรียมไว้ให้และตัวผู้จะคอยดูแลไข่ โดยคอยตีน้ำเป็นฟองรอบๆไข่เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ ทั้งยังคอยรักษาไข่ไว้ให้สะอาดและปกป้องไข่จากสัตว์ผู้ล่า
ตัวผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ยังมีทางเลือก มันอาจเฝ้าไข่ที่ผสมแล้ว หรืออาจออกไปหาตัวเมียตัวใหม่ผสมพันธุ์ด้วยก็ได้ ถ้ามันทิ้งไข่ไป เวลาและเรี่ยวแรงที่ใช้ในการทำรังและเกี้ยวพานก็นับว่าสูญเปล่า แต่ถ้าอยู่ก็ไม่เสียอะไร ทั้งยังอาจมีตัวเมียตัวอื่นๆมาวางไข่ในรังของมัน ที่จริงดูเหมือนว่าปลาหลังหนามตัวเมียชอบจับคู่กับตัวผู้ที่กำลังเฝ้าไข่มากกว่า เพราะตัวผู้ที่คอยปกป้องลูกอ่อนย่อมไม่มีเวลาไปเกี้ยวพานตัวเมียตัวใหม่
ตัวผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ยังมีทางเลือก มันอาจเฝ้าไข่ที่ผสมแล้ว หรืออาจออกไปหาตัวเมียตัวใหม่ผสมพันธุ์ด้วยก็ได้ ถ้ามันทิ้งไข่ไป เวลาและเรี่ยวแรงที่ใช้ในการทำรังและเกี้ยวพานก็นับว่าสูญเปล่า แต่ถ้าอยู่ก็ไม่เสียอะไร ทั้งยังอาจมีตัวเมียตัวอื่นๆมาวางไข่ในรังของมัน ที่จริงดูเหมือนว่าปลาหลังหนามตัวเมียชอบจับคู่กับตัวผู้ที่กำลังเฝ้าไข่มากกว่า เพราะตัวผู้ที่คอยปกป้องลูกอ่อนย่อมไม่มีเวลาไปเกี้ยวพานตัวเมียตัวใหม่
แต่ปลาตัวผู้ที่ดูแลไข่ ก็มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งคือ ปลาสลิดหินคอร์เตช ในทะเลคอร์เตชนอกชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก ก็เหมือนกับปลาหลังหนามคือ ตัวเมียวางไข่ให้ตัวผู้ดูแล แม้ตัวผู้จะป้องกันไข่ให้พ้นอันตรายในทะเล แต่มันก็กินไข่ไปบ้าง นี่นับเป็นพฤติกรรมที่แปลก ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวิวัฒนการมาเพื่อให้มีลูกหลานได้มากที่สุด
ทว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับปลาสลิดหินตัวผู้ไม่ได้อยู่ที่จำนวนลูกปลาในฝูงที่รอดชีวิต แต่อยู่ที่จำนวนลูกปลาที่มันผลิตได้ในชั่วชีวิต ตัวผู้ที่กินอยู่สมบูรณ์สามารถเกี้ยวพานและผสมพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้นหลังจากไข่ฟักเป็นตัวแล้ว ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่า การที่ตัวผู้กินไข่ของมันเองไป 2-3 ใบในวันนี้ จะทำให้มันแข็งแรงสมบูรณ์พอที่จะผลิตลูกหลานได้มากขึ้นในวันหน้า
ในสายตาพ่อ ปลาหลังหนามตัวผู้เฝ้าระวังลูกปลาให้ปลอดภัยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ที่จริงการเปลี่ยนที่ตัวเป็นสีแดงนั้น ใช้สำหรับอวดคู่ยามเกี้ยวพาน แต่มันเอามาใช้ประโยชน์ภายหลัง คือใช้เตือนผู้บุกรุกให้อยู่ห่างจากรังและลูกๆของมัน