อ้อมกอดอันอบอุ่น (งูหลามไม้สีเขียว)

อ้อมกอดอันอบอุ่น
ม่งูหลามไม้สีเขียว

วามห่วยใยฟูมฟักลูกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีในหมู่งู เพราะงูส่วนใหญ่วางไข่ไว้ในที่ปลอดภัยแล้วทิ้งไว้ตามยถากรรม แต่มีงูหลามบางชนิดที่ไม่เพียงแต่คอยปกป้องไข่เท่านั้น แต่ยังกกไข่อีกด้วย

หลังจากงูหลามตัวเมียวางไข่กองใหญ่ประมาณ 10 ฟองแล้ว มันจะขดตัวรอบๆไข่ แล้วสั่นกล้ามเนื้อให้หดตัวเป็นจังหวะ อุณหภูมิของร่างกายจึงสูงกว่าอุณหภูมิโดยรอบถึง 7 ํซ แม่งูยังค่อยๆกลิ้งไข่ให้ผลัดกันตากและหลบแดด


เนื่องจากงูเป็นสัตว์เลือดเย็น (มันต้องตากแดดเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น) มันจึงไม่อาจใช้ความร้อนของร่างกายฟักไข่ได้ แม้มีงูอื่นหลายชนิดที่เฝ้าระวังไข่ แต่เท่าที่ทราบกันดี มีเพียงงูหลามเท่านั้นที่ฟักไข่ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะงูชนิดอื่นๆไม่มีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ทรงพลังไว้ช่วยสร้างความอบอุ่นให้ไข่


สำหรับสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็คือ ภูมิอากาศอันอบอุ่นและอุณหภูมิอันสม่ำเสมอที่ทำให้ไข่ฟักได้เอง แต่สัตว์พวกนี้อาศัยอยู่ในที่ต่างๆ ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนจนถึงทุ่งพุ่มไม้เตี้ยอันหนาวเย็น งูหลายชนิดในที่ต่างๆจึงมีวิธีแก้ปัญหาการฟักไข่ที่แตกต่างกัน เช่น งูกราสส์ ในยุโรปวางไข่ในกองใบไม้เน่า ความร้อนจากการสลายตัวทางเคมีของพืชจะให้อุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับกกไข่ 


ต่สภาพแวดล้อมเช่นนี้ก็มีอันตรายด้วย เนื่องจากมีเชื้อราและแบคทีเรียอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องป้องกันเชื้อเหล่านี้เพื่อให้ตัวอ่อนที่กำลังเติบโตอยู่รอดได้ ดังนั้นเปลือกไข่ของงูจึงต้องเหนียวและหนาเหมือนหนังเพื่อช่วยป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย

วิธีที่นกเมียหลวงปกป้องลูก

วิธีที่นกเมียหลวงปกป้องลูก

นกกระจอกเทศเป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดที่มีชีวิตอยู่ แต่มันบินไม่ได้ มันจึงต้องทำรังไว้บนพื้นดินโดยการคุ้ยดินให้เป็นหลุมตื้นๆ
ไข่นกกระจอกเทศหนักราวฟองละ 1.5 กก. นับเป็นอาหารที่แม้แต่สัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น หมาแจ็กคัล หมาไฮยีนา หรือ บางครั้งสิงโต ก็ยังสนใจกิน ภัยคุมคามชีวิตมากมายเช่นนี้ ทำให้ต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อปกป้อง นกกระจอกเทศจึงได้พัฒนาแบบแผนในการสืบพันธุ์และการฟักไข่ขึ้นเป็นพิเศษ

พ่อนกกระจอกเทศมีสัมพันธ์คู่อันแน่นแฟ้นกับแม่นกเพียงตัวเดียวที่เป็น "เมียหลวง" แม้ว่าพ่อนกจะผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่นๆอีกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ "เมียน้อย" เหล่านี้ได้รับอนุญาตให้วางไข่ในรังได้เท่านั้น ห้ามไปวางไข่หรือสร้างรังเองที่อื่น โดยจะไม่มีส่วนในการกกไข่ของตัวเอง อันเป็นงานของพ่อนกกับแม่นกเมียหลวงที่จะต้องทำเท่านั้น

ถึงเวลากกไข่ พ่อนกนั่งกกไข่เวลากลางคืนที่มีอันตรายมากกว่า ส่วนแม่นกจะรับช่วงกกไข่ต่อในเวลากลางวัน

สัตว์ที่จะดูแลลูกของสัตว์ตัวอื่นนั้นหายาก ด้วยเหตุที่การช่วยลูกสัตว์อื่นจะทำให้มีอาหารและสิ่งจำเป็นอื่นๆสำหรับลูกของมันเองน้อยลง และนกกระจอกเทศเมียหลวงก็ไม่ได้ใจกว้างมากไปกว่าแม่นกตัวอื่นๆแต่ประการใด ดังนั้นเมื่อรังเต็มและมันไม่อาจกกไข่ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจะดันไข่บางฟองที่ไม่ใช่ของมันออกจากรังไป ไข่ที่ถูกดันออกจากรังจะเรียงรายอยู่รอบๆรัง

ไข่ที่ถูกทิ้งพวกนี้จะถูกละเลยอยู่กลางแดดและไม่มีวันฟักเป็นตัว แต่จะเป็นไข่พวกแรกที่สัตว์ผู้ล่าพบ และอาจมีจำนวนพอเพียงสำหรับระงับความหิวได้


อย่างไรก็ตาม ไข่เหล่านี้ก็จะดึงความสนใจไปจากไข่ของเมียหลวงที่ยังคงอยู่ภายใต้อกของพ่อหรือแม่ในรังอย่างปลอดภัย

อุณหภูมิของไข่กำหนดเพศ

รักษาไข่ไว้ให้อุ่น
สำหรับสัตว์เลื้อยคลานที่มีเลือดเย็น การรักษาอุณหภูมิในระยะฟักไข่ต้องใช้วิธีการพิเศษ เช่นเดียวกับนกบางชนิด

อุณหภูมิของไข่กำหนดเพศ
จระเข้ในอเมริกาเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ดังนั้นตัวเมียจึงไม่สามารถกกไข่ให้ฟักเป็นตัวได้ มันจึงต้องสร้างที่ฟักไข่ขึ้นทำหน้าที่แทน โดยมันจะใช้หางโกยใบไม้ใบหญ้ามากองไว้แล้วหมกไข่ไว้ในนั้น เมื่อกองใบไม้เริ่มสลายตัวเน่าเปื่อยเหมือนกองปุ๋ยหมักในสวน กองปุ๋ยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับฟักไข่ คือ 37 ํซ
วิธีนี้แก้ปัญหาในการฟักไข่ได้ แต่ผลก็ยังไม่น่าพอใจนัก เพราะแม้อุณหภูมิในกองใบไม้จะเปลี่ยนไปเพียงไม่กี่องศา แต่ก็อาจส่งผลอย่างมากต่อขนาดตัวและพลังชีวิตของลูกจระเข้ คือ ไข่ที่ได้รับอุณหภูมิต่ำเกินไปจะโตช้า เพราะตัวอ่อนต้องใช้อาหารส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในไข่นั้นเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ครั้นเมื่อฟักเป็นตัว จึงมีขนาดเล็กกว่าตัวที่ฟักออกจากไข่ ที่ได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม

ระเข้ได้มีวิวัฒนการ เพื่อปรับตัวให้สามารถรับสภาวะที่ไม่อาจคาดล่วงหน้าได้นี้ ขนาดร่างกายของจระเข้ตัวเมียนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะถึงแม้ว่าแม่จระเข้ที่ตัวเล็กจะผลิตไข่ได้น้อยฟองกว่าแม่จระเข้ตัวใหญ่ไปตามส่วน แต่อย่างน้อยก็ยังผลิตไข่ได้บ้าง แต่สำหรับตัวผู้นั้นขนาดร่างกายนับว่าสำคัญมาก ตัวผู้ขนาดใหญ่ย่อมชนะการต่อสู้อันโหดร้ายในต้นฤดูผสมพันธุ์และได้ตัวเมียไปมากที่สุด ขณะที่ตัวผู้ขนาดเล็กอาจไม่ได้ผสมพันธุ์เลย

เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของมันมีโอกาสสูงสุดที่จะได้สืบทอดสายพันธุ์ต่อไปด้วยดี แม่จระเข้จึงต้องการให้ลูกที่ตัวใหญ่เป็นตัวผู้ และลูกตัวที่เล็กกว่าเป็นตัวเมียและในความเป็นจริง เพศของลูกจระเข้ถูกกำหนดโดยอุณหภูมิยามฟักไข่ ไข่ที่เจริญเติบโตในสภาวะฟักไข่อันอบอุ่นดีเยี่ยมจะเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ แต่ไข่ที่ฟักในอุณหภูมิอันเย็นกว่าจะเป็นตัวเมียขนาดเล็กกว่า โดยลูกที่ออกมาจะมีตัวผู้หนึ่งตัว ต่อตัวเมียห้าตัว


เช่นเดียวกับจระเข้ เพศของเต่าบกก็กำหนดโดยอุณหภูมิของไข่ แต่ให้ผลตรงข้ามกับไข่ของจระเข้ คือไข่เต่าที่เจริญเติบโตในอุณหภูมิอันเหมาะสมจะฟักเป็นตัวเมียขนาดใหญ่ ส่วนไข่ที่ฟักในอุณหภูมิอันต่ำกว่าจะออกมาเป็นตัวผู้ขนาดเล็ก

สำหรับเต่าตัวผู้ การมีขนาดใหญ่เกือบไม่มีประโยชน์อะไร เพราะการต่อสู้กันในหมู่เต่านั้นนับว่ามีน้อยมาก และเต่าส่วนใหญ่ล้วนมีโอกาสได้ผสมพันธุ์ แต่ทว่าสำหรับเต่าตัวเมีย การมีขนาดใหญ่ย่อมมีประโยชน์แน่นอน แม่เต่าจะบรรทุกไข่ไว้ในร่างกายได้เป็นจำนวนมากเท่าใดนั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของกระดอง เต่าตัวเมียขนาดใหญ่จึงวางไข่ได้มากกว่าขนาดเล็ก และเช่นเดียวกัน การกำหนดเพศด้วยอุณหภูมิช่วยให้เต่าแน่ใจว่าลูกของมันมีโอกาสดีที่สุดที่จะสืบสายพันธุ์ต่อไป

สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ "ทำสวน" เพื่อกกไข่คือ นกแมลลีในออสเตรเลีย มันฟักไข่โดยหมกไว้ในกองใบไม้หรือกองปุ๋ยหมัก มันสร้างกองใบไม้สูงถึง 1 เมตร กว้างประมาณ 5 เมตร โดยรวบรวมใบไม้และดินถึงประมาณ 4 ตัน แม่นกวางไข่ถึง 30 ฟองไว้ในใจกลางกองปุ๋ยแล้วจากไป ส่วนพ่อนกกลบไข่แล้วคอยเฝ้าอยู่ พ่อนกจะคอยวัดอุณหภูมิของรังอยู่ตลอดเวลาโดยการแหย่ปากเข้าไปในรังอยู่บ่อยๆ อุณหภูมิอันเหมาะสมคือประมาณ 33 ํซ ไข่ใช้เวลาฟักเพียง 7 สัปดาห์ แต่กระบวนการทั้งหมดทำให้ตัวผู้ต้องมีงานวุ่นอยู่ถึง 11 เดือนต่อปี

ทำให้ไข่เย็นในความร้อนระอุ

ทำให้ไข่เย็นในความร้อนระอุ
ถ้าอุณหภูมิลดลงจาก 37 ํซ อันเป็นระดับปกติ ไปอยู่ที่ 25 ํซ ไข่ส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยถึง 39 ํซ โดยใช้เวลานานเท่ากัน ก็จะเป็นอันตรายต่อไข่ได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้นกที่ทำรังในเขตร้อนจึงต้องต่อสู้เพื่อรักษาไข่ให้เย็นเข้าไว้ และได้พัฒนากลเม็ดหลายอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ร้อนเกินไป


นกหัวโตแบล็กสมิทในทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้ประปรายทางตะวันออกของทวีปแอฟริกานั้น ทำรังในหลุมตื้นๆบนพื้นดินที่มักเป็นรอยกีบตีนสัตว์ มันจะยืนคร่อมไข่ไว้และกางปีกบังแดดให้ไข่

นกยางเขตร้อนบางชนิดถึงกับเอามูลของตัวเองฉาบไข่ไว้เพื่อให้อุณหภูมิคงที่คล้ายกับกระดิกน้ำเย็น ซึ่งข้างนอกอาจร้อน แต่ของที่บรรจุภายในยังเย็นอยู่

ารใช้กลวิธีอันชาญฉลาดในการปกป้องไข่จากแดดที่แผดเผาดังที่ได้กล่าวมานี้ ทำให้นกสามารถทำรังวางไข่ในทำเลที่ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น กลางทะเลทรายโล่ง หรือบนยอดไม้ใบโกร๋น อันเป็นทำเลที่ไข่และลูกนกอาจปลอดภัยยิ่งขึ้นจากสัตว์ผู้ล่า

ถ้าไข่นั้นถูกแสงอาทิตย์โดยตรงอย่างเดียว การบังแดดให้ก็เป็นวิธีที่ใช้ได้ผล แต่ถ้าอุณหภูมิโดยรอบสูงมาก ก็จำเป็นต้องใช้กลวิธีที่แตกต่างไป เช่น นกกระสาคอดำ หรือ นกแจบิรู ในออสเตรเลีย ใช้วิธีอมน้ำไว้ในจะงอยปากแล้วพ้นใส่ไข่ แต่นกหัวโตอียิปต์ มีจะงอยปากเล็ก อมน้ำไม่ได้มาก มันจึงกลบไข่ไว้ในทราย
แล้วเอาหน้าอก ไปแช่น้ำที่อยู่ใกล้ที่สุดให้ขนเปียก จากนั้นก็รีบกลับมายังรังเพื่อสลัดน้ำเป็นฝอยลงบนไข่ที่หมกทรายอยู่

ฟักไข่ในความหนาวเหน็บ

ไม่ร้อน ไม่หนาว
กบางชนิดพัฒนาวิธีการอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ไข่ของมันอุ่นหรือเย็นเท่าที่จำเป็นในสภาวะอากาศอันรุนแรง


ฟักไข่ในความหนาวเหน็บ
นกเพ็นกวินจักรพรรดิซึ่งเป็นนกเพ็นกวินขนาดใหญ่นั้นจะเป็นนกน้ำ แต่มันกลับวางไข่บนบก โดยในตอนต้นฤดูหนาวมันจะวางไข่เพียงใบเดียว ณ บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปแอนตาร์กติก มันเริ่มเกี้ยวพานกันในฤดูใบไม้ร่วง ครั้นถึงเวลาที่ตัวเมียวางไข่ใน 2 เดือนถัดมามันจะมีน้ำหนักลดลงร้อยละ 20 เพราะเสียพลังงานไปในการผลิตไข่และการเดินทางไกลไปยังจุดวางไข่


ทันทีที่ไข่ออกมา แม่นกก็ใช้จะงอยปากเขี่ยให้ไข่กลิ้งมาอยู่บนหลังเท้าเพื่อกันไม่ให้ไข่เย็นจนแข็ง จากนั้นพ่อนกก็เดินเข้ามาหาและย้ายไข่ไปไว้บนหลังเท้าของมันแทน ส่วนแม่นกก็จะออกทะเลเพื่อหาอาหารกิน ปล่อยให้พ่อนกกกไข่ในฤดูหนาว ซึ่งหนาวจัดจนอุณหภูมิอาจลดเหลือ -60 ํซ และลมอาจแรงถึง 200 กม./ชม.
เนื่องจากพวกมันไม่ทำรัง พ่อนกจึงกกไข่โดยวางไข่บนหลังเท้าเพื่อไม่ให้ไข่โดนน้ำแข็ง และใช้หนังที่ห้อยจากท้องน้อยคลุมไข่ไว้ พ่อนกเพิ่งผลัดขนส่วนนี้ ออกก่อนหน้านี้ได้ไม่นานเพื่อใช้กกไข่ ใต้ผิวหนังที่กกไข่นั้น มีเส้นเลือดมากมาย ทำหน้าที่คล้ายเครื่องทำความร้อนเพื่อคอยรักษาไข่ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

พ่อนกกกไข่โดยไม่พักเลยตลอดเวลา 2 เดือนขณะที่แม่นกออกทะเล พ่อนกได้อาหารจากไขมันที่สะสมไว้มากในร่างกาย มันทำทุกอย่างเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นและสำรองพลังงาน เมื่ออากาศหนาวจัดพวกมันจะจับกลุ่มเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งถึง 6,000 ตัว แต่ละตัว เอาปากพาดบ่าตัวข้างหน้า และคอยเขยิบตัวเข้าไปเรื่อยๆ เพื่อเข้าไปอยู่กลางฝูงที่มีไออุ่นกว่า ตามปกติลูกนกฟักเป็นตัวเมื่อแม่นกกลับจากทะเล เพื่อรับช่วงดูแลต่อจากพ่อนก

ความห่วงใยที่ไม่เท่าเทียม

ความห่วงใยที่ไม่เท่าเทียม
ม่กบดาร์วิน วางไข่บนพื้นป่าบีชทางใต้ของประเทศชิลีโดยไม่อาศัยน้ำ พ่อกบจะคอยเฝ้าไข่อยู่จนลูกอ๊อดเริ่มขยับตัวในวุ้นที่ห่อหุ้มไว้ แล้วพ่อกบก็จะกลืนลูกเข้าไปเก็บไว้ในถุงกล่องเสียง เพื่อพกพาลูกติดตัวไปด้วยเป็นเวลานานประมาณ 3 สัปดาห์ ลูกอ๊อดจะเจริญเป็นกบตัวเล็กๆอยู่ในนั้นโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการกินอาหารของพ่อ แต่จะทำให้เสียงร้องของพ่อเปลี่ยนไป เมื่อลูกกบโตแล้ว พ่อก็จะปล่อยลูกๆออกมา จากในปาก และปล่อยให้ลูกๆดูแลตัวเองเพียงลำพัง

พ่อที่ห่วงใยลูกยิ่งกว่ากบดาร์วิน ได้แก่ แซลาแมนเดอร์ยักษ์ หรือ เฮลล์เบนเดอร์ ที่มีลักษณะคล้ายตัวนิวต์ พวกมันอาศัยอยู่ในทวีปอเมริเหนือ ตัวผู้ซ่อนไข่ที่ผสมแล้วไว้ใต้ก้อนหินในลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว และคอยเฝ้าปกป้องไข่ เพื่อให้พ้นภัยจากสัตว์อื่นๆ รวมถึงภัยจากสัตว์ชนิดเดียวกันด้วย สัตว์ที่พยายามบุกรุกเข้าไปใต้ก้อนหิน ที่ซ่อนไข่อันแสนหวงของ แซลาแมนเดอร์ยักษ์ จะถูกขับไล่อย่างดุร้าย..

ภาระในครอบครัวที่มีแต่พ่อ

ภาระในครอบครัวที่มีแต่พ่มีปลาเพียง 2-3 ชนิดที่ดูแลลูกน้อยของมัน ปลาที่รับภาระดูแลลูกมักเป็นพ่อปลา ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปไข่จะถูกทิ้งไว้กับตัวพ่อ ตามปกติปลาจะออกไข่และตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ที่ปล่อยออกมา  เมื่อตัวเมียวางไข่แล้ว ตัวผู้จึงปล่อยน้ำเชื้อไปผสม จากนั้นตัวเมียก็ว่ายจากไป ปลาหลังหนาม เป็นตัวอย่างปลาที่น่าสนใจ ตัวเมียจะวางไข่ในรังที่ตัวผู้เตรียมไว้ให้และตัวผู้จะคอยดูแลไข่ โดยคอยตีน้ำเป็นฟองรอบๆไข่เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ ทั้งยังคอยรักษาไข่ไว้ให้สะอาดและปกป้องไข่จากสัตว์ผู้ล่า

ตัวผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ยังมีทางเลือก มันอาจเฝ้าไข่ที่ผสมแล้ว หรืออาจออกไปหาตัวเมียตัวใหม่ผสมพันธุ์ด้วยก็ได้ ถ้ามันทิ้งไข่ไป เวลาและเรี่ยวแรงที่ใช้ในการทำรังและเกี้ยวพานก็นับว่าสูญเปล่า แต่ถ้าอยู่ก็ไม่เสียอะไร ทั้งยังอาจมีตัวเมียตัวอื่นๆมาวางไข่ในรังของมัน ที่จริงดูเหมือนว่าปลาหลังหนามตัวเมียชอบจับคู่กับตัวผู้ที่กำลังเฝ้าไข่มากกว่า เพราะตัวผู้ที่คอยปกป้องลูกอ่อนย่อมไม่มีเวลาไปเกี้ยวพานตัวเมียตัวใหม่
แต่ปลาตัวผู้ที่ดูแลไข่ ก็มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งคือ ปลาสลิดหินคอร์เตช ในทะเลคอร์เตชนอกชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก ก็เหมือนกับปลาหลังหนามคือ ตัวเมียวางไข่ให้ตัวผู้ดูแล แม้ตัวผู้จะป้องกันไข่ให้พ้นอันตรายในทะเล แต่มันก็กินไข่ไปบ้าง นี่นับเป็นพฤติกรรมที่แปลก ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวิวัฒนการมาเพื่อให้มีลูกหลานได้มากที่สุด
 
ว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับปลาสลิดหินตัวผู้ไม่ได้อยู่ที่จำนวนลูกปลาในฝูงที่รอดชีวิต แต่อยู่ที่จำนวนลูกปลาที่มันผลิตได้ในชั่วชีวิต ตัวผู้ที่กินอยู่สมบูรณ์สามารถเกี้ยวพานและผสมพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้นหลังจากไข่ฟักเป็นตัวแล้ว ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่า การที่ตัวผู้กินไข่ของมันเองไป 2-3 ใบในวันนี้ จะทำให้มันแข็งแรงสมบูรณ์พอที่จะผลิตลูกหลานได้มากขึ้นในวันหน้า


ในสายตาพ่อ ปลาหลังหนามตัวผู้เฝ้าระวังลูกปลาให้ปลอดภัยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ที่จริงการเปลี่ยนที่ตัวเป็นสีแดงนั้น ใช้สำหรับอวดคู่ยามเกี้ยวพาน แต่มันเอามาใช้ประโยชน์ภายหลัง คือใช้เตือนผู้บุกรุกให้อยู่ห่างจากรังและลูกๆของมัน

ม้าน้ำตัวผู้ "ตั้งท้อง"

เมื่อพ่อคือผู้เลี้ยงลูก
นหมู่สัตว์บางชนิด ตัวเมียปัดภาระให้ตัวผู้เลี้ยงลูกแทน เป็นการแก้ปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่อย่างชาญฉลาด


ม้าน้ำตัวผู้ "ตั้งท้อง"
มีพ่อสัตว์น้อยชนิดนักที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันลูกอ่อน ดังเช่นม้าน้ำที่กกไข่ไว้ในถุงหน้าท้อง

ม้าน้ำตัวเมียวางไข่หลายพันใบลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้ ตัวผู้จะผสมน้ำเชื้อเข้าไปแล้วปกป้องตัวอ่อนไว้จนฟักเป็นตัว เยื่อบุถุงจะปล่อยอาหารเหลวออกมาเลี้ยงตัวอ่อนที่กำลังเติบโต ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมาถุงก็จะบีบรัดตัวอย่างต่อเนื่อง ดันฝูงม้าน้ำตัวน้อยออกมาดูโลก

ม้าน้ำอาจเป็นตัวอย่างที่เรารู้จักดีที่สุดในเรื่อง "การตั้งท้อง" ของตัวผู้ แต่การปรับบทบาทเช่นนี้ก็มีวิวัฒนการอยู่ในหมู่เครือญาติของมันด้วย รวมถึงปลาไพป์จมูกโต ซึ่งอยู่ตามพงหญ้าอีลกราสส์ นอกชายฝั่งตะวันตกของสวีเดน นักชีววิทยาที่ศึกษาปลาชนิดนี้พบว่า มันมีการกลับบทบาททางเพศที่เกือบสมบูรณ์

สำหรับสัตว์ส่วนใหญ่นั้น ตัวผู้เป็นฝ่ายเริ่มเกี้ยวพานและจับคู่ผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียเป็นฝ่ายเลือกตัวผู้เพื่อผสมพันธุ์ แต่ในกรณีของปลาไพป์ ตัวผู้ไม่เคยมีจำนวนมากพอที่จะช่วยดูแลกกไข่ของตัวเมียได้หมดทุกตัว ตัวผู้จึงเป็นที่ต้องการของตัวเมียอย่างมาก ดังนั้นตัวเมียจึงกลับต้องเป็นฝ่ายเกี้ยวพานตัวผู้ 


จากท้องพ่อ ม้าน้ำตัวผู้ส่งลูกน้อยออกสู่โลกกว้าง ม้าน้ำจะล่องไปตามกระแสน้ำและผสมพันธุ์เมื่อตัวเมียเข้าเกี่ยวตระหวัดรอบตัว ตัวผู้แล้ววางไข่ลงในถุงกกไข่หน้าท้อง

ในอ้อมแขนของแม่ปลาหมึก

ลาหมึกสายวงน้ำเงินตัวเมียใช้หนวดคอยปกป้องไข่ของมันเอาไว้ให้ปลอดภัยตลอดเวลาฟัก 90 วัน สัตว์ผู้ล่าหลายชนิดย่อมอยากกินไข่เหล่านี้ แต่มีไม่กี่ชนิด ที่สามารถรับมือกับพิษจากการกัดของแม่ปลาหมึกสีสันสดใสนี้ได้

งสีน้ำเงินเป็นเครื่องแสดงว่าปลาหมึกสายนี้มีพิษ ดังนั้นถิ่นที่ปลอดภัยของมันจึงอยู่ในที่แจ้งกลางทะเลเพื่อให้ศัตรูมองเห็นสีของมันได้ชัดเจน ซึ่งข้อนี้นับว่าผิดกับปลาหมึกสายชนิดอื่นๆ ที่วางไข่ซุกไว้ตามซอกและร่องหิน

ม้ว่าแม่ปลาหมึกสายวงน้ำเงินจะคอยเฝ้าไข่เพื่อดูแลให้มีน้ำโกรกพัดไข่อยู่เสมอ แต่มันก็ยังต้องซ่อนพรางไข่เพื่อป้องกันภัยไว้ก่อนเป็นด่านแรก
  
เต็มอ้อมแขน สีของแม่ปลาหมึกสายวงน้ำเงินถิ่นใต้ เป็นสัญญาณเตือนศัตรูว่ามันมีพิษ แม้มันจะใช้หนวดโอบอุ้มกองไข่ไว้นานถึง 90 วัน แต่สัตว์ผู้ล่าส่วนมากจะรู้สัญญาณและไม่กล้าตอแย

แม่ที่แบกไข่ไว้ใต้ผิวหนัง

แม่ที่แบกไข่ไว้ใต้ผิวหนัง
บและคางคกหลายชนิดแบกไข่ของมันไว้บนหลัง คางคกพันธุ์ซูรินาม ในทวีปอเมริกาใต้ อันเป็นเขตเส้นศูนย์สูตรนั้น ต้องอาศัยลวดลายการว่ายน้ำที่สอดคล้องกัน เพื่อให้ไข่ขึ้นไปอยู่บนหลังตัวเมีย
างคกที่กำลังเกี้ยวพานกันจะว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำในขณะผสมพันธุ์ เมื่อขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ มันก็กลับตัวตีลังกาเพื่อว่ายวนเป็นวงใต้น้ำ ตัวเมียวางไข่ออกมา 2-3 ฟองในขณะที่อยู่ด้านบนของวง ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม สัตว์ทั้งคู่วางไข่และผสมน้ำเชื้อได้ประมาณ 100 ฟอง ด้วยวิธีตีลังกาแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ในขณะที่ฟองไข่จมลงบนหลังของตัวเมีย ตัวเมียก็จะปล่อยเยื่อหยุ่นๆ ออกมาคลุมไว้ หลังจากนั้นประมาณ 1-2 วัน ก็มองไม่เห็นไข่ เพราะไข่ได้ฝังตัวจมอยู่ในหลังของตัวเมียจนมิด แม่คางคกแบกไข่ไว้นานประมาณ 3 เดือน ก่อนจะฟักเป็นลูกอ๊อด ที่ดิ้นหลุดจากใต้ผิวหนังแม่แล้วว่ายน้ำผละไป

กบชนิดหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้นั้น ตัวเมียมีถุงใส่ลูก และปกป้องไข่ไว้บนหลัง ซึ่งมีผิวหนังอีกชั้นประกบ ทำให้มีลักษณะเป็นถุงที่มีปากแคบอยู่ติดกับขาหลัง ตัวเมียต้องจัดท่าทางขณะผสมพันธุ์ให้ดี คือ ต้องปักหัวลงและชูขาหลังขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ไข่เข้าไปในถุง ตัวผู้เกาะหลังตัวเมียไว้และผสมน้ำเชื้อลงไปในไข่ซึ่งตัวเมียปล่อยออกมาทีละฟอง แล้วไข่ก็ไถลตามร่องชื้นๆ บนหลัง จนลงไปในถุงที่คอยรับอยู่

ในถุงนี้ ไข่กบจะเจริญเป็นลูกอ๊อดและอาศัยอยู่จนกลายเป็นลูกกบ เมื่อโตเต็มที่แล้ว แม่กบก็เอาตีนหลังดึงปากถุงเปิด ปล่อยให้ลูกกบกระโดดออกมา

ปลาที่ ยอม..อด เพื่อลูก

ปลาที่ ยอม..อด เพื่อลูกราอาจคิดว่าปากของพ่อปลาและแม่ปลา ไม่น่าจะเป็นแหล่งที่ปลอดภัยนัก สำหรับฟูมฟักไข่ปลาและลูกปลา แต่ในทะเลสาบของทวีปแอฟริกามี ปลาซิกลิด หลายชนิดที่เลี้ยงไข่และลูกอ่อนด้วยวิธีนี้

ามปกติแม่ปลาซิกลิด อมไข่ไว้ในปากแต่ตัวพ่อก็ทำดังนี้บ้างเช่นกัน ไข่จะฟักเป็นตัวราว 10 วัน และเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เผลอกลืนไข่ลงไป พ่อหรือแม่ผู้ทำหน้าที่นี้จะไม่กินอะไรเลยในระหว่างนั้น แต่ความพลั้งพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ ถ้าปลาที่กำลังฟักไข่เกิดตกใจ มันอาจกลืนไข่ซึ่งมันฟูมฟักอย่างดีเข้าไปได้

อันตรายอีกอย่างคือการถูกขโมย มีปลาซิกลิดชนิดหนึ่งที่ทำให้พ่อหรือแม่ซึ่งกำลังฟักไข่อยู่ในปากต้องสำลักคายลูกออกมาให้จับกิน แต่ถึงกระนั้น โดยรวมแล้วก็ถือได้ว่าปากของแม่ปลาเป็นแหล่งปลอดภัย ไปจนลูกปลาฟักเป็นตัวได้หนึ่งสัปดาห์ ทุกครั้งที่มีภัยคุกคาม ลูกปลาจะว่ายรี่เข้าไปหลบภัยในปากแม่


ลูกน้อยเต็มปาก ปลาซิกลิดในทะเลสาบมาลาวีของแอฟริกา พ่นลูกที่เพิ่งฟักเป็นตัวออกมาดูโลก พ่อหรือแม่ปลาซิกลิดจะอมไข่มากมายไว้ในปากโดยยอมไม่กินอาหารเลย เพื่อให้ลูกปลอดภัยอย่างที่สุด

ใช้เรือนกายเป็นที่พิทักษ์ไข่

สัตว์หลายชนิดที่วางไข่นั้นห่วงความปลอดภัยของชีวิตในอารักขา บางชนิดจึงแก้ปัญหาโดยการหอบหิ้วไข่ไปด้วยทุกหนแห่ง

แมงมุมล่าเหยื่อ
หอบห่อไข่ติดตัว
มงมุมใยเลี้ยงเด็กได้สมญานามเช่นนี้เนื่องจากมันสร้างใยขึ้นเพื่อปกป้องลูกอ่อนที่เพิ่งฟักเป็นตัว ตามปกติแมงมุมชนิดนี้ออกตระเวนหาเหยื่อโดยอาศัยความเร็ว ความไว และสายตาที่ดีเยี่ยมไว้ไล่จับเหยื่อมากิน อันได้แก่ แมลง รวมทั้งกบ และสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ

แต่วิถีชีวิตแบบนี้ก็มีข้อเสียเปรียบแมงมุมที่คอยจับเหยื่อที่มาติดใยนั้นย่อมสามารถเฝ้าไข่ของมันได้ตลอดเวลา แต่แมงมุมที่ออกล่าเหยื่อต้องอุ้มไข่ติดตัวไปหรือไม่ก็ทิ้งไข่ไว้ตามลำพังจนอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ผู้ล่า

แมงมุมใยเลี้ยงเด็กนี้อุ้มไข่ติดตัวไปโดยใส่ไว้ในถุงใยขนาดใหญ่ที่ติดอยู่กับเขี้ยว ขณะที่ไข่กำลังเจริญเติบโต มันจะไม่สามารถล่าเหยื่อเพราะมันกินไม่ได้ แต่มันจะย้ายถิ่นหาบริเวณที่มีแสงแดดไปเรื่อยๆทั้งนี้เพื่อให้ไข่อบอุ่น

เมื่อลูกแมงมุมกำลังจะออกจากไข่ ตัวแม่จะฉีกถุงใยเหนียวให้เป็นรูเล็กๆ แล้วสร้างกระโจมใยสำหรับลูกอ่อนคลุมรอบถุงไข่ จากนั้นก็นั่งคร่อมเอาไว้จนลูกแมงมุมเจริญเติบโตและแยกย้ายกันออกไปเลี้ยงตัวเอง 

แมงมุมวูล์ฟ เก็บไข่ไว้ในถุงใยเช่นเดียวกัน แต่แบกถุงไว้บนหลัง โดยเชื่อมต่อกับอวัยวะทอใยที่ท้อง วิธีนี้ทำให้เขี้ยวของตัวแม่เป็นอิสระในขณะที่ไข่เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อรู้สึกว่าไข่กำลังจะฟักเป็นตัว แม่แมงมุมก็จะฉีกถุงเหนียวที่หุ้มไข่ไว้ปล่อยให้ลูกออกมา ลูกแมงมุมจะคลานไต่พร้อมทั้งลากใยขึ้นไปตามขาแม่ ใยของลูกจะไปเกี่ยวติดกับขนพิเศษบนหลังแม่ ลูกแมงมุมจะขี่หลังแม่อยู่หลายวัน

เมื่อไข่ฟักเป็นตัวแล้ว แม่แมงมุมบางชนิดก็ทิ้งถุงไข่ไปเลย แต่บางชนิดมีสัญชาตญาณอันแรงกล้า จึงยังลากถุงใยเปล่านี้ติดตัวไปอีกระยะหนึ่ง


 
 ภาระที่ล้ำค่า (รูปบน)แมงมุมใยเลี้ยงเด็กอุ้มถุงใยอันอุ้ยอ้ายที่มีไข่หลายร้อยใบอยู่ภายใน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวแล้ว แม่แมงมุมก็ปล่อยลูกน้อยออกมาจากถุงใยที่คล้ายสถานกักกัน มิฉะนั้นลูกๆ จะตายเพราะออกมาไม่ได้

นกอาศัยมด มดอาศัยหนาม

นกอาศัยมด อาศัยหนามนกคิสคาดี มีขนาดเท่านกรอบิน มันเป็นนกในกลุ่มนกจับแมลงอกเหลืองแห่งอเมริกากลาง ซึ่งเป็นนักฉวยโอกาส มันกินทั้งกบ ปลา ผลไม้ และแมลงเป็นอาหาร ทั้งยังอาศัยต้นอะเคเชียหนามโค้งคมให้ปกป้องรับรูปทรงกลมของมัน ต้นอะเคเชียชนิดนี้มีหนามกลวงที่มีขนาดใหญ่จนเป็นที่ขยาดของสัตว์ที่เล็มใบไม้กิน หนามกลวงนี้ยังเป็นที่อยู่ของมดสกุลชูโดเมอร์เมกซ์ซึ่งดุร้ายด้วย เนื่องจากต้นไม้ให้ที่อยู่และอาหาร มดพวกนี้จึงตอบแทนด้วยการปกป้องต้นไม้จากการรุกรานของแมลงและนก

ย่างไรก็ตาม นกคิสคาดีสามารถหาประโยชน์จากมดผู้คุ้มกันต้นอะเคเชียนี้ได้ แม้ในชั้นแรกมดจะรุมกัดนก แต่แล้วมดก็จะค่อยๆยอมรับนกคิสคาดี แม้ว่ามดจะยังต่อต้านสัตว์อื่นๆอยู่อย่างไม่ลดรา ดังนั้นนกคิสคาดีจึงสามารถฟักไข่ได้สองถึงห้าฟอง และเลี้ยงดูลูกนกที่ฟักเป็นตัวได้อย่างปลอดภัยพอสมควร

แมลงกิ่งไม้หลายชนิด (จากจำนวน 2,500 ชนิด) อาศัยมดให้ช่วยปกป้องไข่ของมันจาก ต่อ ส่วนแมลงหลายชนิดถูก ต่อเบียน รังควาน ต่อเบียนชนิดที่แพร่พันธุ์ได้ดีที่สุดใช้วิธีวางไข่ลงไปในไข่ของแมลงอื่น แมลงกิ่งไม้ที่วางไข่ไว้บนพื้นดินจะล่อหลอกให้มดมาขนไข่ของมันไปฝังไว้ในทำเลที่ต่อเบียนเข้าไม่ถึง

ไข่ของแมลงกิ่งไม้แต่ละใบมีปุ่มเล็กๆที่ผิว จึงมองดูคล้ายเมล็ดพืช ปุ่มที่เมล็ดพืชนั้นคือเนื้ออันเป็นสารอาหารของมด แม้ปุ่มที่ไข่แมลงจะไม่ใช่อาหาร แต่มดก็ยังเข้าใจผิด และขนเมล็ดพืชจอมปลอมนี้ลงไปเก็บไว้ในรังใต้ดินอย่างปลอดภัย


ไข่ที่เหมือนเมล็ดพืช แมลงกิ่งไม้ทุกชนิดเป็นนักปลอมแปลงตัวฉกาจ บางชนิดวางไข่ที่ลักษณะเหมือนเมล็ดพืชมากจนมดขนไปเก็บไว้ในรัง

ปลอดภัยในฟองน้ำ

ปลอดภัยในฟองน้ำปลาสกัลปินมังกร แตกต่างจากปลาสกัลปินกระโดงแหลมอื่นๆ ตรงที่มันไม่สร้างรังสำหรับวางไข่ แต่จะวางไข่ลงในฟองน้ำ ให้เป็นที่ฟูมฟักและพิทักษ์ไข่จากผู้ล่า สกัลปินตัวเมียจะแทงหลอดวางไข่เจาะลงไปในเนื้อฟองน้ำเพื่อปล่อยไข่ลงในท่อที่ฟองน้ำใช้ดูดน้ำทะเล ไข่จะฟักอยู่ในนั้นโดยมีน้ำไหลผ่านและได้ออกซิเจนจากน้ำ ฟองน้ำยังผลิตสารต่อต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียมาปกป้องทั้งตัวมันเองและไข่ปลาจากโรคภัย


 ฝากไข่ไว้กับฟองน้ำ
สกัลปินเป็นปลากระโดงแหลมที่ขึ้นชื่อในเรื่องฟูมฟักไข่ แต่ปลากัสปินมังกรเป็นข้อยกเว้น มันปล่อยให้ฟองน้ำทำหน้าที่เลี้ยงดูแทน

ตะกวดฝังไข่ให้ฟักในจอมปลวก

ตะกวดฝังไข่ให้ฟักในจอมปลวก
ปัญหาน่าสนเท่ห์ปัญหาหนึ่งในธรรมชาติก็คือ อะไรเป็นประโยชน์ต่อสัตว์มากกว่ากัน การทุ่มเทพลังงานเพื่อปกป้องลูกตลอดระยะเวลาในช่วงต้นของชีวิตที่ยังอ่อนแออยู่ หรือการทุ่มเทพลังงานเพื่อหาอาหารกินและจับคู่เพื่อสืบพันธุ์ต่อไปอีก

วิวัฒนการทางธรรมชาติได้ให้วิธีแก้ไขปัญหานี้ไว้ต่างๆ นานา สัตว์บางชนิดผลิตลูกจำนวนมากมายแล้วทอดทิ้งไป บางชนิดมีลูกไม่กี่ตัวแล้วดูแลจนเกือบโตเต็มที่ บางชนิดเลี่ยงปัญหาดังกล่าวโดยหาผู้อื่นมาทำหน้าที่แทน ตะกวดลายจุดในออสเตรเลียจัดอยู่ในประเภทสุดท้าย

ตะกวด ชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในทำเลที่มีจอมปลวก จอมปลวกแต่ละจอมมีท่อมากมายช่วยปรับอากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมภายในปลอดภัย ชุ่มชื้น และอบอุ่น พอเหมาะแก่ปลวกที่อาศัยอยู่ ทั้งเป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมเหมาะแก่การฟักไข่ของตะกวด ตะกวดตัวเมียขูดจอมปลวกให้เป็นหลุมแล้ววางไข่ไว้ในนั้น ต่อมาพวกปลวกจะรีบซ่อมแซมรอยชำรุดนี้ กลบเอาไข่ตะกวดเข้าไว้ในจอมปลวก ตะกวดจะมั่นใจได้ว่าไข่ของมันจะอยู่ในสภาวะดีเยี่ยมและปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ไข่ฟักตัวนานเก้าเดือน เมื่อลูกตะกวดฟักเป็นตัวแล้ว ก็จะถูกขังอยู่ท่ามกลางผนังดินแข็ง และคงต้องติดอยู่ในนั้นต่อไปหากไม่ได้ความช่วยเหลือจากแม่ ซึ่งด้วยเหตุผลบางประการ แม่ตะกวดก็จะรู้ได้ว่าถึงเวลาที่ต้องกลับมาขุดเอาลูกออกจากจอมปลวกแล้ว 
 รอดได้ด้วยปลวก ตะกวดลายจุดขนาดยาว 2 ม.นี้มีถิ่นหากินที่กว้างขวางสำหรับล่าไข่นกและสัตว์ขนาดเล็ก ในถิ่นของมันต้องมีจอมปลวกอยู่ด้วย เพราะตัวเมียวางไข่ไว้ในจอมปลวก

ปกป้องลูกอ่อนก่อนเป็นตัว

น้อยครั้งนักที่สัตว์จะตกอยู่ในอันตรายอันร้ายแรงยิ่งกว่าในช่วงแรกของชีวิต ฉะนั้นมันจึงพัฒนากลวิธีต่างๆ นานาขึ้น เพื่อจะได้สืบสายพันธุ์ต่อไป
 
หอยกาบดูแลปลาบิตเทอร์ลิง
ลาบิตเทอร์ลิง เป็นปลาสีเงินขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในทะเลสาบและแม่น้ำที่ไหลเอื่อยๆ การวางไข่ของปลาชนิดนี้น่าทึ่งมาก มันมักวางไข่ไว้ในหอบกาบซึ่งเป็นหอยน้ำจืด ด้วยเหตุที่หอยนี้จะหุบฝาแน่นทันทีที่ได้สัญญาณอันตราย จึงกลายเป็นผู้คุ้มครองไข่ที่แสนวิเศษ แต่ก่อนอื่นปลาบิตเทอร์ลิงต้องแก้ปัญหาให้ตกว่าจะเอาไข่ใส่ลงในหอยได้อย่างไร

เมื่อใกล้ฤดูสืบพันธุ์ ปลาบิตเทอร์ลิงตัวเมียจะมีอวัยวะออกไข่งอกเป็นหลอดออกมาจนปลายหลอดยาวเลยครีบหางความยาว 5 - 7.5 ซม. ของมันไปลอยเฟื้อยอยู่ข้างหลัง มันใช้หลอดนี้ส่งไข่ลงไปในท่อหายใจของหอยที่หอยใช้ดูดน้ำ ไข่ปลาจึงเข้าไปอยู่ในโพรงเหงือกของหอย

ต่ก่อนอื่นแม่ปลาจะใช้ปากกระทุ้งหอยหลายครั้งจนหอยชินกับการรบกวนทำให้หอยผ่อนคลายและไม่หุบฝาสนิทในขณะที่แม่ปลากำลังวางไข่ ขณะวางไข่พ่อปลาก็จะว่ายผ่านพลางปล่อยน้ำเชื้อลงมา หอยก็หายใจเอาน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในโพรงเหงือก

ไข่เหล่านี้จะเจริญอย่างปลอดภัยในเปลือกหอย มีน้ำอันอุดมด้วยออกซิเจนไหลผ่านเหงือกหอยมาหล่อเลี้ยงอยู่อย่างสม่ำเสมอ หนึ่งเดือนหลังจากการวางไข่ลูกปลาบิตเทอร์ลิงก็จะว่ายออกจากท่อหายใจของหอยไปในแม่น้ำ ขณะเดียวกันหอยก็จะออกลูก โดยตัวอ่อนของหอยจะเกาะตัวลูกปลาไปจนกระทั่งมันพร้อมจะตั้งหลักแหล่ง









เชื่อมต่อกับหอย ปลาบิตเทอร์ลิงในญี่ปุ่นนั้น ตัวเมียสอดหลอดวางไข่ลงในท่อหายใจของหอยกาบซึ่งเป็นหอยน้ำจืด เพื่อเตรียมฉีดไข่ ส่วนตัวผู้ว่ายวนอยู่ใกล้ๆพร้อมที่จะปล่อยน้ำเชื้อ ตัวผู้เป็นผู้เลือกถิ่นที่มีหอยอันเหมาะสมคอยพิทักษ์ถิ่นจากคู่แข่ง

เหตุใดรูปลักษณ์ของไข่จึงสำคัญ


ไข่เป็นประดิษฐกรรมอันน่าทึ่งอย่างหนึ่งของธรรมชาติ มีรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกับความจำเป็นตามธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด

รูปทรงของไข่ปกป้องตัวอ่อน
แม้ไข่นกทุกชนิดจะมีรูปทรงกลมวี แต่ไข่ของนกต่างชนิดก็ยังเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยทั่วไปไข่ของนกที่ทำรังอยู่ตามโพรงหรือรังที่เป็นหลุมก้นลึกนั้นมีรูปทรงป้อมกว่า เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเมื่อต้องกลิ้งลงไปในโพรง

ข่นกเค้ากลมกว่าไข่นกทั่วไป ไข่นกนางแอ่นค่อนข้างยาวรี ส่วนไข่นกกิลลิมอต ที่ทำรังอยู่ตามชะง่อนผาชันนั้นมีปลายที่สอบแหลม เมื่อมันวางไข่ ไข่จะกลิ้งได้บ้างเป็นวงแคบๆ และเปลือกด้านแหลมจะแข็งกว่า
เปลือกแข็งของไข่นกเป็นเกราะป้องกันสัตว์ผู้ล่า สัตว์ผู้ล่าที่ไม่เจนสนามอาจท้อถอยเมื่อพบว่ามันฉกวัตถุที่กลมเกลี้ยงและแข็งได้อย่างยากลำบาก ส่วนไข่เต่านั้นนุ่มและเปลือกเหนียว ด้วยเหตุที่ไข่เต่าหมกทรายอยู่จนกว่าจะฟักเป็นตัวการมีเปลือกแข็งจึงไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด

แมลงนั้นวางไข่ได้เกือบทุกที่ เพราะไข่ของมันมีระบบเลี้ยงตัวเองที่มีประสิทธิภาพมาก ไข่ส่วนใหญ่มีโครงสร้างผิวที่ช่วยกักเก็บอากาศเอาไว้ ทำให้ตัวอ่อนที่เติบโตอยู่ภายในหายใจได้ไม่ว่าจะถูกวางไว้ที่ไหน ดังนั้นแมลงจึงวางไข่ไว้ใกล้ๆ แหล่งอาหารแล้วผละไปได้

ที่กล่าวมานี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดแมลงส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยเลี้ยงดูฟูมฟักลูกอ่อน ในบรรดาแมลงที่ดูแลลูกน้อยอย่างดียิ่งนั้นมีแมลงวันเซปซิตรวมอยู่ด้วย มันวางไข่ในกองมูลควาย ซึ่งภายในนั้นน่าจะอึดอัดหายใจได้ยาก แต่ไข่ทุกใบก็มีหลอดยาวยื่นพ้นผิวมูลควายออกมาสำหรับใช้ช่วยในการหายใจ

วางไข่ป่ายผา นกกิลลิมอตบรีนนิค แพร่พันธุ์ตามซะง่อนผาสูงชันที่หันหน้าสู่ทะเล และวางไข่ใบเดียวไว้บนหินโล้น ไข่มีรูปทรงสอบแหลมตรงปลาย ทำให้กลิ้งได้เป็นวงแคบๆ เท่านั้น และจึงไม่หล่นลงไป


ภาระหนัก ไข่นกกีวีในนิวซีแลนด์เป็นไข่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถ้าเทียบกับน้ำหนักตัว ไข่มีสีครีมและหนักถึงหนึ่งในสี่ของตัวแม่ ซึ่งคอยฟูมฟักตัวอ่อนในไข่ตลอดระยะฟัก 9-12 สัปดาห์

ไข่เป็นภาระแก่นกเล็ก ยิ่งกว่านกใหญ่
ไข่นกขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยมีมานั้น เชื่อกันว่าเป็นไข่ของนกช้างในมาดากัสการ์ ซึ่งบัดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว นกขนาดสูง 3 ม. ชนิดนี้ออกไข่ที่ชั่งได้หนักถึง 11 กก. ปัจจุบันนี้นกขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่นกกระจอกเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งตัวเมียสูง 1.8 ม. ออกไข่หนักประมาณ 1.4 กก.

แต่ถ้าเทียบกันน้ำหนักของไข่กับขนาดของนก สมรรถนะของนกขนาดเล็กก็น่าทึ่งยิ่งนัก แม้ไข่นกกระจอกเทศจะมีขนาดใหญ่ แต่ก็หนักเพียงร้อยละหนึ่งของน้ำหนักตัวแม่นก แม้นกขนาดเล็กที่สุดของโลก คือนกฮัมมิงเบิร์ดผึ้งในคิวบา จะวางไข่ที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่าเมล็ดถั่ว แต่ไข่นั้นก็หนักกว่าร้อยละหกของน้ำหนักตัวแม่นก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้านกชนิดนี้มีขนาดเท่านกกระจอกเทศ ไข่ของมันจะหนักกว่าไข่ของนกกระจอกเทศถึงหกเท่า ที่ยิ่งน่าทึงก็คือนกฮัมมิงเบิร์ดผึ้งบินได้ทั้งที่ต้องแบกน้ำหนักขนาดนี้ นกกระจอกเทศที่บินไม่ได้นั้นยังแบกภาระน้อยกว่ามาก

ตามปกติขนาดของไข่ถูกกำหนดด้วยขนาดของตัวนก แม้วิถีชีวิตที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนได้ ตัวอย่างเช่น นกลุยน้ำและนกที่มนุษย์ล่า จะวางไข่ฟองใหญ่กว่านกอื่นๆ ที่ขนาดเดียวกัน เพราะเมื่อฟักเป็นตัวแล้วลูกนกจะออกจากรังไปหาอาหารกินเอง จึงจำเป็นต้องมีตัวใหญ่ แต่นกชนิดที่ต้องหาเลี้ยงลูกอยู่ระยะหนึ่ง ก็ย่อมจะวางไข่ใบเล็กกว่า

ทำไมไข่นกจึงมีสีต่างกัน
ไข่นกได้สีมาจากสารสีที่เคลือบเปลือกไข่ขณะที่อยู่ในตัวแม่นก นกชนิดที่ไข่อยู่นิ่งๆ ในท่อจากรังไข่ขณะที่สีเคลือบลงบนเปลือก ย่อมมีสีเปลือกไข่เป็นจุดพร้อย แต่นกที่ไข่เคลื่อนที่อยู่ในท่อรังไข่ ย่อมมีสีเปลือกไข่เป็นลายริ้ว

นกที่ทำรังรูปกระเปาะตามต้นไม้มักออกไข่สีฟ้าอ่อน เคยเชื่อกันมานานว่านี่เป็นการเลียนแบบหย่อมแสงแดดบนใบไม้เพื่อให้ผู้ล่าสับสน แต่การศึกษาเมื่อไม่นานนี้พิสูจน์ว่าทฤษฎีนี่ไม่จริง โดยชี้ให้เห็นว่าสีของไข่เกือบไม่มีความสำคัญเลยเพราะผู้ล่ามักหารังพบก่อนมองเห็นไข่

นกที่ทำรังในโพรงและนกที่นั่งอยู่นิ่งๆ เมื่อมีอันตรายคุกคามนั้น มักวางไข่สีขาวหรือไข่ที่ไม่มีจุดหรือลายเลย เช่นเดียวกับกับนกเช่นเป็ดและห่าน ซึ่งซ่อนไข่ไว้ใต้ขนสีขาวของมันเอง หรือเอาใบไม้คลุมไว้เมื่อออกจากรังไปหากิน

การพรางไข่นี้ได้พัฒนาไปมากที่สุดในบรรดานกเช่นนกกระแต ที่จะพยายามล่าสัตว์ผู้ล่าไปให้พ้นรัง และต้องทิ้งไข่ไว้โดยไม่มีใครเฝ้า ไข่ของนกชนิดนี้จึงมีลวดลายแต้มพร้อยที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยพรางเส้นขอบร่างของไข่จนทำให้มองเห็นได้ยาก

ลวดลายของไข่นกคุกคูนั้นสำคัญเป็นพิเศษ เพราะมันต้องวางไข่ที่คล้ายกับไข่ของเจ้าของรัง แม้ไข่ของนกคุกคูทั้งหลายจะมีลวดลายได้หลากหลายแบบแตกต่างกันไป แต่ไข่ของนกคุกคูตัวเมียแต่ละตัวมีได้เพียงลวดลายเดียว ทั้งนี้อาจสืบทอดมาจากแม่ของมัน มันจึงต้องเลือกหารังที่มีไข่รูปลักษณ์เหมือนกับไข่ของนกชนิดที่เคยเลี้ยงมันมา

ประเดี๋ยวเห็น ประเดี๋ยวหาย
นกหัวโตขาเหลือง โดยการพรางไข่ไว้อย่างแยบยลให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ถ้ามีสัตว์ผู้ล่าเข้ามาใกล้ แม่นกจะพยายามล่อไปให้ห่างรังโดยแกล้งทำเป็นปีกหัก

ในต่อใหญ่ยังมีต่อเล็ก

ในต่อใหญ่ยังมีต่อเล็ก
ตัวอ่อนของริสซา ซึ่งเป็นต่ออิกนิวมอนแบบหนึ่งนั้น เป็นตัวเบียนที่กินตัวอ่อนและดักแด้ของตอไม้ แต่การกินดักแด้ของตอไม้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตัวอ่อนของต่อไม้กินเนื้อไม้ของต้นเฟอร์และเจาะเป็นโพลงลึกได้ถึง 2.5 ซม. หรือลึกกว่านั้นเพื่ออยู่อาศัย ต่อเบียนจึงต้องพัฒนาวิธีการบุกเข้าถึงตอไม้

ต่อเบียนริสซาตัวเมียต้องตรวจให้พบตัวอ่อนของตอไม้เสียก่อน โดยการดูว่าเปลือกไม้ของต้นใดน่าจะมีต่อไม้ แล้วใช้หนวดเคาะแตะกับเปลือกไม้ เมื่อรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนแล้ว ต่อเบียนริสซาจะหมุนตัวไปรอบๆ พร้อมกับเคาะเปลือกไม้ซ้ำๆ อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงยกส่วนท้องสูงขึ้นเพื่อเตรียมสอดอวัยวะออกไข่ (ovipositor) ที่มีลักษณะเป็นหลอดลงไป


ลอดซึ่งปรับใช้ได้ดีนี่ยาวเกือบเท่ากับลำตัวส่วนที่เหลือของต่อเบียนริสซาแต่เป็นเส้นเล็กบอบบางประมาณเท่าขนม้า เมื่อยังไม่ใช้งาน ต่อจะใช้แผ่นป้องกันสองแผ่นปกป้องอวัยวะออกไข่ไว้ แต่เมื่อวางไข่ มันจะถอดแผ่นดังกล่าวออก และสอดอวัยวะออกไข่เข้าไปในเนื้อไม้เพื่อหาเจาะตัวอ่อนของต่อไม้

รู้ไม้ที่ต่อเบียนเจาะไม่จำเป็นต้องอยู่เหนือตัวอ่อนเสมอไป อย่างไรก็ตามทันที ที่มันสัมผัสตัวอ่อน ไขหนึ่งใบจะถูกบีบออกจากตัวแม่ ผ่านหลอดออกมาวางไว้เคียงข้างเหยื่อหรือบนตัวเหยือ

เมื่อไข่ของริสซาฟักเป็นตัวแล้ว มันจะกินตัวหนอนของต่อไม้และกลายเป็นดักแด้ แล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไปในโพรงอันปลอดภัยในปีต่อมา ต่อริสซารุ่นใหม่ก็จะไปหาที่วางไข่ลงบนตัวอ่อนของต่อไม้รุ่นถัดไปออกจากไข่มากินไข่ 


ต่อแคลซิดตัวหนึ่งวางไข่ในไข่ของผีเสื้อกลางคืนกะหล่ำ เมื่อไข่ของต่อดังกล่าวฟักเป็นตัวแล้ว มันก็จะกินและทำลายไข่ของผีเสื้อ

ดอกแพชชันกับแมลงที่วางไข่

อาหารสำเร็จรูปของแมลงตัวอ่อน
แมลงตัวอ่อนแรกเกิดจะมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น หากได้เติบโตขึ้นในอาหารของมัน แมลงหลายชนิดจึงใช้วิธีต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้
ดอกแพชชันกับแมลงที่วางไข่ 
ผีเสื้อเฮลิโคนิอีนมากมายหลายชนิดในทวีปอเมริกากลาง มีนิสัยเหมือนผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืนชนิดอื่นๆ คือมักเลือกวางไข่บนพืชบางชนิดเท่านั้น เพื่อให้หนอนผีเสื้อที่ฟักจากไข่กินพืชนั้นเป็นอาหาร ผีเสื้อเฮลิโคนิอีนเลือกวางไข่เฉพาะบนดอกแพชชันซึ่งเป็นอาหารชนิดเดียวของตัวหนอน

นื่องจากตัวหนอนใช้เวลาอยู่บนต้นแพชชันต้นเดียวจนเจริญเป็นตัวเต็มวัย แม่ผีเสื้อจึงต้องตรวจดูก่อนว่าต้นแพชชันนั้นไม่มีผีเสื้อเฮลิโคนิอีนตัวอื่นวางไข่ไว้ก่อน ถ้ามีการวางไข่มากเกินไปบนต้นไม้ต้นเดียว จะส่งผลให้อาหารหมดก่อนที่ตัวหนอนจะโตเต็มวัย ดังนั้นถ้าผีเสื้อตัวเมียพบว่ามีไข่ของตัวอื่นวางอยู่ก่อนแล้ว มันก็จะบินไปหาต้นแพชชันใหม่

ด้วยเหตุนี้จึงดูเหมือนว่าต้นแพชชันบางต้นได้พัฒนากลไกป้องกันการวางไข่ของผีเสื้อ โดยผลิตก้อนไข่ปลอมขึ้นมาลักษณะเป็นก้อนเนื้อเยื่อสีเหลืองอยู่บนอวัยวะส่วนที่เรียกว่า มือพัน (tendril) อันเป็นส่วนที่พืชดัดแปลงขึ้นจากใบมาเป็นหนวดเพื่อใช้ยึดเกาะไข่ปลอมเหล่านี้ ดูเหมือนไข่ผีเสื้อเฮโลนิอีน จนทำให้ผีเสื้อตัวเมียต้องย้ายไปวางไข่ยังต้นอื่น

เต่าตนุเดินทางแปดสัปดาห์


เต่าตนุเดินทางแปดสัปดาห์
นเดือนพฤศจิกายน ทุกๆ 2-3 ปี เต่าตนุจะต้องจากถิ่นอาศัยบริเวณชายฝั่งประเทศบราซิล เพื่อเดินทางเป็นระยะทาง 2,000 กม สู่เกาะแอสเซ็นชัน ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ และมีพื้นที่กว้างเพียง 88 ตร.กม. เต่าตนุต้องว่ายน้ำวันละ 150 กม. นานแปดสัปดาห์ จึงจะถึงที่หมายและได้ผสมพันธุ์นอกฝั่งทะเล

ม่เต่าจะคืบคลานเข้าสู่หาดตอนกลางคืน เพื่อขุดหลุมทราย อันเป็นงานที่ยากลำบากและยาวนาน จากนั้นจึงวางไข่ประมาณ 140 ฟองลงในหลุม เราอาจใช้การเคลื่อนตัวของเปลือกทวีปมาอธิบายการเดินทางอันแสนพิสดารของเต่าเหล่านี้ได้ว่า เมื่อประมาณ 120 ล้านปีก่อน ทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาเริ่มเคลื่อนที่ออกจากกัน เกิดเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ตรงกลาง และมีเกาะภูเขาไฟอุบัติขึ้นมากมาย บรรพบุรุษของเต่าบราซิลจึงวางไข่บนเกาะเพราะมีสัตว์ผู้ล่าน้อยกว่า


เต่าที่โตเต็มวัยจะกลับไปยังหาดอันเป็นบ้านเกิดเพื่อสืบพันธุ์ แต่แรงกระแทกของคลื่นลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เซาะเกาะเหล่านี้จนกุดลงใต้ทะเล เหลือไว้เพียงเกาะแอสเซ็นชัน เวลายิ่งผ่านไปนานเท่าใด เต่าก็ต้องเดินทางไกลยิ่งขึ้นเพื่อมาผสมพันธุ์ เนื่องจากทวีปอเมริกาใต้เคลื่อนตัวห่างจากเกาะนี้ออกไปเรื่อยๆ

เสี่ยงชีวิตเพื่อสืบพันธุ์


เสี่ยงชีวิตเพื่อสืบพันธุ์
ณ แนวคลื่นอันเป็นรอยต่อของแผ่นดินและผืนน้ำ คือแหล่งซึ่งสัตว์นานาชนิดยังคงอาศัยเป็นที่ผสมพันธุ์ แม้ต้องเสี่ยงชีวิต นี้เป็นที่มาของ..."ปลากรุนยัน"

ปลาที่ผสมพันธุ์บนชายหาด
ในคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือนมีนาคม เกลียวคลื่นริมหาดตลอดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย จะปรากฏประกายสีเงินระยิบระยับจากลำตัวของ ปลากรุนยัน นับล้านตัวที่ว่ายเป็นทางยาวสุดสายตา เมื่อคลื่นซัดเข้าหาชายหาด เหล่าปลาก็จะถูกพัดตามคลื่นขึ้นมานอนบิดดิ้นอยู่บนผืนทราย


ปลาเพศเมียสะบัดหางชอนไชพื้นทรายเพื่อแทรกตัวฝังลงไปในทราย จนลำตัวอยู่ในแนวตั้ง เหลือแต่หัวโผล่ขึ้นมา เมื่อปลากรุนยันตัวผู้เลือกตัวเมียเป็นคู่ผสมพันธุ์ได้แล้ว มันก็จะโอบตัวไปรอบคู่ของมันเพื่อปล่อยน้ำเชื้อในขณะที่ตัวเมียวางไข่ จากนั้นคลื่นลูกต่อไปก็พัดคู่หวานคู่นี้หวนคืนสู่ทะเล

    หากปลากรุนยันกะเวลาได้พอดี และตัวเมียวางไข่ในที่เหมาะสม ไข่ที่ผสมแล้วจะคงอยู่ในทรายที่ชื้นแฉะตลอดสองสัปดาห์โดยไม่ถูกรบกวน เพราะสัตว์ผู้ล่าเข้าไม่ถึง จนเมื่อแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทำให้น้ำขึ้นสูงสุดอีกครั้ง คลื่นสูงจะกวาดเซาะพื้นทรายที่ไข่ฝังอยู่ กระตุ้นให้ไข่ฟักเป็นตัวและว่ายสู่ท้องน้ำ

วิธีผสมพันธุ์ของปลากรุนยันค่อนข้างอันตราย ปลาบางตัวอาจค้างอยู่บนหาดทรายกลายเป็นเหยื่อของนกนางนวลได้ง่ายๆ แต่การผสมพันธุ์บนชายหาดก็ช่วยให้ได้ลูกปลาจำนวนมาก ปลากรุนยันในปัจจุบันยังคงสืบทอดพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่เสี่ยงอันตรายนี้ต่อมา

เรายังไม่ทราบว่าเหตุใดปลากรุนยันสมัยดึกดำบรรพ์จึงเลือกสืบพันธุ์บนหาด แต่อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยก่อนคงไม่มีสัตว์ผู้ล่าบนหาดมากนัก การสืบพันธุ์บนหาดจึงปลอดภัยกว่าในทะเล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็นับว่าคุ้มค่าความเสี่ยง

พันธนาการแห่งอดีต


พันธนาการแห่งอดีต
ชื่อภาษาอังกฤษของแมงดาทะเลมีความหมายว่า "ปูเกือกม้า"    แต่มันกลับเป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวกับแมงป่องและแมงมุม ที่มีเปลือกเรียบ แลดูคล้ายยานอวกาศ มันเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งแทบไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยตลอดช่วงเวลาเกือบ 200 ล้านปี

 ในต้นฤดูร้อน แมงดาทะเลคลานขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายทางฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา เหมือนที่เคยทำสืบกันมาตั้งแต่ยุคที่ยังไม่มีไดโนเสาร์ แมงดาตัวเมียจะขุดรังเล็กๆ บนพื้นทรายและวางไข่ประมาณ 80,000 ฟอง เมื่อตัวเมียเริ่มขุดหลุมสร้างรังนั้น ตัวผู้จะใช้ขาหน้าเกาะลำตัวของตัวเมียไว้เพื่อ เตรียมพร้อมให้ผสมพันธุ์กับไข่ได้ทันที


 เปลือกที่แข็งแรงของแมงดาทะเลป้องกันลำตัวมันจากผู้ล่าได้ แต่ไข่ใบเล็กสีเขียวของมันกลับเป็นอาหารอันโอชะของฝูงนกบนหาด นกบางชนิดที่อพยพประจำปีจากทวีปอเมริกาใต้ไปผสมพันธุ์แถบอาร์กติก อาจกะช่วงเวลาการเดินทางให้ประจวบกับช่วงกลางฤดูที่แมงดาทะเลวางไข่ จึงน่าพิศวงว่าเหตุใดแมงดาทะเลจึงยังวางไข่บนพื้นทรายแทนที่จะเป็นในทะเล เหตุผลประการหนึ่งอาจจะเป็นเพราะแมงดาทะเลติดรูปแบบพฤติกรรมตามที่มันได้พัฒนามาตั้งแต่อดีตกาล แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังดำรงพันธุ์สืบมาได้จวบจนปัจจุบัน เพราะสัตว์ผู้ล่านับเป็นฝูงๆ ก็ยังไม่อาจจะกินไข่ของแมงดาทะเลได้หมดสิ้น

ปูแดงออกแสวงบุญประจำปี

 
ปูแดงออกแสวงบุญประจำปี
เกาะคริสต์มาส ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเกาะชวาไปทางทิศใต้ประมาณ 320 กม. บนเกาะที่มีป่าฝนเขตร้อน อันเป็นถิ่นอาศัยของ "ปูบกสีแดง" ประมาณ 120 ล้านตัว ซึ่งกินดอกไม้และผลไม้ที่ขึ้นในป่าดังกล่าว ที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก

ปูเหล่านี้มีคู่แข่งขันน้อย เพราะมีสัตว์บกเพียงไม่กี่ชนิดที่เดินทางมาถึงเกาะนี้ได้ บรรพบุรุษห่างๆ ของปูดังกล่าวอาศัยอยู่ในทะเล แต่ต่อมาพวกมันได้พัฒนาเป็นสัตว์บกอย่างสมบูรณ์ เพราะปูสีแดงสูดอากาศหายใจโดยตรงและว่ายน้ำไม่เป็น แต่แม้พวกมันจะตั้งถิ่นฐานอยู่บนบก ตัวอ่อนของพวกมันยังต้องไปเจริญเติบโตในท้องทะเลอยู่ดี


 ทุกปี ปูนับล้านตัวเดินทางออกจากรูในป่า มุ่งสู่ชายฝั่งทะเลเพื่อผสมพันธุ์ หลายตัวตายระหว่างเดินทาง ส่วนพวกที่ไปถึงจุดหมายก็ยังต้องเสี่ยงจมน้ำตายโดยเฉพาะปูแดงตัวเมีย การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นที่ชายฝั่ง จากนั้นตัวเมียแต่ละตัว ก็อุ้มไข่นับพันในถุงเก็บไข่ใต้ท้องใกล้หาง เดินเข้าหาแนวคลื่นอย่างหาญกล้า แล้วเขย่าตัวให้ไข่หลุดลงน้ำ ตัวเมียบางตัวอาจถูกคลื่นกวาดลงน้ำไป แต่หลายตัวกลับสู่ป่าได้
 

หลังจากไข่หลุดลงน้ำไปแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนเติบโตในทะเลและพวกมันต้องดิ้นรนเข้าหาฝั่งเพื่อเจริญเติบโตเป็นลูกปูเล็กๆ ภายใน 25 วัน นี่เป็นวัฏจักรของ "ปูบกสีแดง" สืบต่อไป

การเดินทางอย่างหาญกล้า ของ แซลล์มอนแดง


การเดินทางอย่างหาญกล้า ของ แซลล์มอนแดง
ทุกฤดูร้อน แซลล์มอนแดงรุ่นแรกต้องออกเดินทางจากมหาสมุทรแปซิฟิก มาที่ต้นน้ำลำธารอันเป็นบ้านเกิดในทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อมาสืบพันธุ์แล้วจบชีวิตลง

การเดินทางสู่ต้นน้ำครั้งสุดท้าย
ในฤดูใบไม้ผลิ หรือต้นฤดูร้อน แซลล์มอนแดงที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเริ่มเดินทางครั้งแรก และ ครั้งเดียวในชีวิต พวกมันถือกำเนิดเมื่อหกปีก่อน


ในต้นน้ำลำธารหลายสายของทวีปอเมริกาเหนือ ขณะนี้เป็นเวลาที่มันต้องเดินทางกลับ ตามกลิ่นไอสายน้ำแห่งความทรงจำ แซลล์มอนแดงว่ายทวนกระแสน้ำจากชายฝั่งทะเลสู่ถิ่นกำหนด โดยอาจจะต้องว่ายน้ำเป็นระยะทางยาวไกลถึง 2,400 กม.


เมื่อน้ำตกขวางกั้น แซลล์มอนแดงจะใช้แกว่งหางช่วยเพิ่มแรงว่ายทวนกระแสน้ำให้ถึงจุดหมายปลายทาง แซลล์มอนแดงจะผสมพันธุ์ ก่อหวอดระหว่างก้อนกรวดในน้ำ และวางไข่นับพันใบ จากนั้นพวกมันก็จะพากันสิ้นเรี่ยวแรง ล้มตายลอยเกลื่อน แต่ลูกๆ ของมันจะอยู่รอดเป็นทายาท รับสืบทอดยีนและแรงผลักดันให้เดินทางกลับสู่ต้นน้ำจากพ่อแม่

ชะตากรรมอันแสนลำเค็ญ
ปลาแซลล์มอนแดงตามรอยเส้นทางเดิมเหมือนปลารุ่นก่อนนับล้านตัวเพื่อกลับมายังสายน้ำถิ่นเกิด เมื่อผสมพันธุ์แล้ว หลายตัวก็ตาย หลายปีให้หลัง ลูกของมันก็เดินทางย้อนกลับมาโดยอาศัยกลิ่นของสายน้ำบ้านเกิด เป็นเครื่องนำทาง สายน้ำแต่ละช่วงจะมีกลิ่นเฉพาะตัวอันเกิดจากดินและการเพาะปลูก